ที่มา
วิธีการ
การดำเนินการของ มก.

 

 

 
-วิธีการ-

        การสร้างแรงจูงใจให้แก่ส่วนราชการและผู้บริหารระดับสูงของส่วนราชการเพื่อให้การพัฒนาการปฏิบัติราชการเกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน ทุกส่วนราชการต้องเข้าสู่ระบบการประเมินผลเพื่อรับสิ่งจูงใจ และสามารถจัดส่วนราชการได้เป็น 3 กลุ่ม ตามระดับของการพัฒนาการปฏิบัติราชการและการได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการ ดังนี้
        กลุ่มที่ 1 ได้แก่ ส่วนราชการระดับกรมทั้งหมดที่ต้องทำการพัฒนาการปฏิบัติราชการภาคบังคับ โดยต้องแสดงผลการปฏิบัติราชการใน 5 ประเด็น ได้แก่
 
• การลดค่าใช้จ่าย
• การลดอัตรากำลังหรือจัดสรรอัตรากำลังให้คุ้มค่า
• การลดระยะเวลาการให้บริการ
• คุณภาพการให้บริการ
• ผลสำเร็จในการพัฒนาการปฏิบัติราชการ
 
         กลุ่มที่ 2 ได้แก่ ส่วนราชการระดับกรมที่ต้องการพัฒนาการปฏิบัติราชการในระดับท้าทาย โดยต้องดำเนินการภายใต้เงื่อนไขดังนี้
• แสดงผลการพัฒนาการปฏิบัติราชการใน 5 ประเด็น เหมือนกลุ่มที่ 1
• แสดงผลการพัฒนาการปฏิบัติราชการในประเด็นเพิ่มเติมจากกลุ่มที่ 1 โดยทำการพัฒนาการปฏิบัติราชการให้ได้อย่างน้อย 2 ใน 3 ประเด็นทั้งหมด ซึ่งเป็นประเด็นที่ปรากฏเป็นหลักการอยู่ในร่างพระราชกฤษฏีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และอยู่ในมาตรการต่างๆ ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ.2546-2550) เพื่อให้ส่วนราชการต่างๆ มีการพัฒนาไปในทิศทางดังกล่าว ดังนี้
 
1) การมอบอำนาจการตัดสินใจ การอนุมัติ อนุญาตไปยังระดับปฏิบัติการ และการแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายที่ไม่จำเป็นหรือล้าสมัยหรือเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ
2) การนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับงานบางส่วน
3) การจัดทำแผนกลยุทธ์ กำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดระดับองค์กร
4) การกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดระดับบุคคลให้สอดคล้องกับองค์กร
5) การเพิ่มผลิตภาพ
6) การวัดผลิตภาพ
7) การเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนหรือองค์กรพัฒนาที่ไม่แสวงหากำไรสามารถคัดค้านและเข้ามาดำเนินการแข่งขันได้
8) การวัดต้นทุนต่อหน่วย
9) การบริหารสินทรัพย์ให้เกิดประสิทธิภาพ (capital charge)
10) การให้บริการผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์
11) การพัฒนาระบบควบคุมภายใน
12) การนำระบบประกันคุณภาพมาใช้
13) การสำรวจและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและจัดให้มีคณะที่ปรึกษาภาคประชาชน
14) การตรวจสอบความคุ้มค่าของเงิน
15) นวัตกรรมอื่นๆ ที่กรมเสนอและคณะกรรมการเจรจาข้อตกลงและประเมินผลเห็นชอบให้นำมาเสนอในข้อตกลงได้
 
• ส่วนราชการระดับกรมต้องเสนอตัวชี้วัดพร้อมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะทำได้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเจรจาข้อตกลงผลงานและเป้าหมาย
• หลังจากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตัวชี้วัดและเป้าหมายที่ส่วนราชการระดับกรมเสนอ ต้องมีการลงนามข้อตกลงผลงานและประกาศให้ประชาชนทราบ
กลุ่มที่ 3 ได้แก่ จังหวัดทั้งหมดและส่วนราชการระดับกรมที่ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง”

 
 
  หน้าหลัก l ข้อมูลของ ก.พ.ร. มก. l คณะกรรมการ ปฏิทินการดำเนินงาน l เอกสารเผยแพร่ l แบบฟอร์ม l Links
 

Copyright 2004  Kasetsart University All rights reserved. Support 800 x 600 resolution.